บทความนี้เราจะบอกหมดทั้งการหาที่พัก ขึ้นรถเมล์ หาทางเข้างาน และตักตวงปสก. ให้ได้มากที่สุดจาก เทศกาลหนังสือเด็กใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้าย
[***ต้องขอขอบคุณสนพ. Sandclock ที่สนับสนุนค่าเดินทาง ที่พัก และอาหารให้ตาล
สำหรับปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนลิขสิทธิ์ ในทริปนี้ด้วยค่ะ
ช่วยกันอุดหนุนสนพ. คุณภาพกันนะคะ]
La Feltrinelli ร้านหนังสือเชนสโตร์ของสนพ. Giangiacomo Feltrinelli Editore ในมิลาน
Buongiorno! สวัสดีค่ะ บทความนี้เราจะมาเล่าวิธีเดินทางในอิตาลี และการไปยังเมืองโบโลญญา เพื่อร่วมงานเทศกาลหนังสือ BCBF นะคะ พวกทิปการจองโรงแรม การประหยัดค่าอาหารอะไรก็จะอยู่ในนี้หมดเลย ว่าแล้วก็เริ่มกันเลย
งาน BCBF เนี่ย ปกติแล้วจะจัดทุกเดือนมีนาคม ช่วงปลาย ๆ เดือน
แต่เนื่องจากโควิด-19ระบาดหนักมากในอิตาลี ถึงขั้นที่ช่วงหนึ่งต้องฝังศพรวมกัน และแทบไม่มีบ้านไหนไม่ติดเชื้อ งานเลยล่มไป 2 ปีค่ะ เพิ่งมาจัดได้อีกทีปี 2022 นี่เลย
สำหรับทริปนี้ ตาลเลือกเดินทางไปมิลานโดยเครื่องบินก่อน แล้วค่อยนั่งรถบัสต่อไปโบโลญญา เพราะค่าตั๋วไปมิลานวันธรรมดามันถูกกว่าไปโบโลญญากลางสัปดาห์ อีกอย่างคือ มันไม่มีเครื่องบินจากเมืองที่เราอยู่ไปโบโลญญาตอนกลางวันค่ะ มีแต่ตอนดึก ๆ สนามบินเมืองนี้เค้าปิดหลังเที่ยงคืน รถรางระหว่างสนามบินกับตัวเมืองก็ปิดแล้ว เราเรียกแท็กซี่ไม่เป็น เลยว่าไม่เสี่ยงดีกว่า 555
เรามาเมืองมิลานแล้วก็ไม่ได้มาเที่ยวเปล่านะคะ แต่มาทำเควสต์ให้นักวาดไทย ด้วยการถ่ายรูปของสวยงามในอิตาลี คู่กับโปสการ์ดที่เราเตรียมจะเอาไปแปะกำแพงนักวาดในงาน BCBF ดูค่ะ ใครดูฉากหลังแล้ว เดาออกไหมคะว่าเราไปเที่ยวที่ไหนมาบ้าง (ไม่ได้รางวัลเด้อ แค่ได้ทาย 555)
เอาไปเดินถ่ายรูปคู่ทั่วเมืองเรยยย 555
ภาพเหล่านี้อยู่ใน ig: childrens_book_out_there ด้วยนะคะ
โปสการ์ดพวกนี้เป็นแค่ตัวแทนนักวาดบางส่วนของไทยเท่านั้น เพราะเราปริ๊นต์งานทุกคนมาแปะกำแพงไม่ไหว ก็เลยขอความร่วมมือทุกคนติดแท็กทวิต / เฟสบุ๊ก / ไอจี ติดแท็ก #ThaiKidsIllustrator#ThaiBCBF2022 เพื่อให้สนพ.ทั่วโลกได้มีโอกาสเห็นผลงานนักวาดในไทยกันค่ะ แท็กอยู่ได้นานดีด้วย เพื่อน ๆ ตาลที่ทำงานสนพ. ที่ไทยก็ใช้แท็กนี้ดูงานนักวาดกันค่ะ
ตาลเองก็ไม่รู้ว่าปีหน้าจะได้ไปงานอีกมั้ย (จนกรอบ 555) ถ้าใครไปแล้วอยากช่วยนักวาดไทยไฮแจ็กกำแพงนักวาดอีก ก็เอาเทมเพลตโปสการ์ดด้านล่างนี้ไปใช้ใส่ภาพประชาสัมพันธ์วงการนักวาดไทยกันได้นะคะ
ตาลทำเทมเพลตใน Canva พวกโลโก้โซเชียลมีเดียต่าง ๆ ก็มาจากตรงนั้นเป็นส่วนใหญ่ค่ะ
เทมเพลตโปสการ์ดประชาสัมพันธ์นักวาดไทย
เที่ยวมิลานแป๊บ ๆ ก็ถึงวันงานเทศกาลแล้วค่า
หลังจากนั่งบัสจากท่ารถมิลาน สองชม.เศษ มาลงท่ารถโบโลญญาตอนเก้าโมง (หลับมาตลอดทาง) เราก็ไปเช็กอิน กินข้าวเช้า (ตอนเที่ยง) และมุ่งหน้าสู่งานเทศกาลหนังสือค่ะ
ค่าที่พักถูกสุดที่เราหาเจอ ในทำเลใกล้งานเทศกาลมากที่สุด คือ Combo Bologna เป็นโฮสเทลราคาประหยัดสำหรับนักเรียนนักศึกษา และคนทำงานอายุน้อยค่ะ เราพักห้องหญิงล้วน 4 คน ถือว่าโอเคเลย มีครัว มีห้องซักผ้า คาเฟ่และลานนั่งเล่นเป็นระเบียบเรียบร้อยดี เสียอย่างเดียวต้องเดินเข้าซอยค่อนข้างลึกอยู่ แต่ซอยก็ไม่ได้เปลี่ยวอะไรค่ะ งาน BCBF จัดที่ Quartiere Fieristico di Bologna, Padiglioni (Hall) 25 - 26 - 29 - 30 ใครจะไปงาน กางกูเกิ้ลแมพ จิ้มพิกัด Ingresso Fiera: Costituzione นะคะ อย่าพิมพ์แค่ Bologna Book Fair มันจะอาสาพาไปหลงได้เด้อ
เพราะสถานที่จัดงานมันใหญ่ มาก! เรายังโชคดีที่ไหวตัวทัน ถามจนท. โฮสเทลก่อนออกมา
ใครที่นั่งรถเมล์สาย 35 กับสาย 38 ลงหน้างานเลย นั่งรถจากสถานีรถไฟกลางไปได้ เวลาจ่ายตังค์ จ่ายด้วยการติ๊ดบัตรเดบิต/เครดิต contactless หรือจ่ายผ่านแอป แล้วติ๊ดบัตรผ่านมือถือเอาได้ค่ะ (ระบบมือถือต้องรองรับด้วยนะ) รถเมล์ขาละ 1.5€ ค่ะ
ข้อควรระวัง!!!
อาหารในงานแอบแพงนะคะ น้ำอัดลม 3 ยูโรเนี่ย มันอะไรก๊านนน!
แนะนำให้เอาขวดน้ำไปด้วยค่ะ แพ็กขนมปัง ผลไม้ไปกินด้วยก็ดี กระเป๋าลากเล็ก ๆ เอาไปได้ก็เอาไปนะคะ ถ้าเป็นสายซื้อ สายหอบหนังสือกลับบ้านเนี่ย เพราะว่างานนี้มีอะไรให้ดูเยอะ คนก็เยอะ ที่นั่งก็เยอะนะ แต่มีไม่พอ ยิ่งถ้าแพลนมาแค่วันเดียวนะคะ เตรียมตัวไม่พร้อม รับรองวิ่งขาขวิด ดูงานไม่ทันแน่ ๆ สำหรับใครที่เป็นแฟนคลับหนังสือเด็ก ตาลแนะนำว่าซื้อบัตรเบ่ง เข้างาน 4 วันดีกว่า.. ราคานี้เข้าสองวันก็คุ้มแล้ว เพราะตั๋วเข้างาน 1 วันแพงมากค่ะ
ถ้าเป็นนักวาดหรือนักแปล พยายามขอรหัสลดราคาตั๋วให้ได้นะคะ จะถูกลงไปเยอะเลยล่ะ
รหัสอาจจะมาดีเลย์หน่อย สไตล์อิตาเลียนชิล ๆ แต่จงรอค่ะ มันมาแน่ ตั๋วเข้างานไม่มีวันหมด
รอรหัสเพื่อตั๋วที่ประหยัดกว่าค่ะ!
ทางเข้าทางนี้ค่ะ นั่งเมล์สาย 35 ลงหน้างานได้เลย
Bologna Fiere นั้นใหญ่มาก เห็นในกูเกิลแมพมีหลายตึกที่ใช้ชื่อเดียวกัน
ไปผิดฝั่งเดินขาลากนะคะ เขาไม่เปิดประตูให้นะเออ
นี่เดินเป็นหนูติดจั่นอยู่ในบริเวณจัดงาน หาทางออกไม่ได้มาแล้ว
เอาล่ะ เข้างานกัน
มองจากข้างนอก อาคารจัดงานดูไม่ใหญ่ ไม่สูงมาก แต่ว่าเนื้อที่แผ่ออกไปในแนวระนาบ ค่อนข้างกว้างใหญ่ เดินวันเดียวหมดไปแค่โซนครึ่ง เพราะเข้าไปเจอโซนแรก โซน Illustrator เราก็โดนดักอยู่เป็นชั่วโมงแล้วค่ะ
บูธส่วนใหญ่เริ่มเก็บของกันตั้งแต่สิ้นวันที่ 3 และงานปิดบ่ายวันที่ 4 ถ้ามีเวลาจำกัด แนะนำมาวันที่ 2 กับ 3 นะคะ
ภารกิจไฮแจ็กกำแพงนักวาด
เช่นเดียวกับผู้ชมคนอื่น ๆ เราเริ่มต้นงาน BCBF ด้วยการเดินผ่าน "กำแพงนักวาด" นั่นเอง ไอ้เราก่อนมาก็นึกว่ามีสองสามกำแพงค่ะทุกคน... ที่ไหนได้ ปาไปสิบกำแพง ล้อมรอบโซนเลยจย้า เหลือที่ให้เราแปะโปสการ์ดเยอะแยะ
นี่เป็นภาพกำแพงตอนบ่ายวันสุดท้ายของการจัดงานนะคะ
โดนโปสเตอร์ โปสการ์ด นามบัตรละเลงเละ
ตอนแรกเราติดโปสการ์ดไปแค่ที่มุมเดียวของห้องจัดแสดง
พอเจอกำแพงอีกฟากห้องเลยต้องเดินกลับไปถอดโปสการ์ดบางแผ่นออกมาติดใหม่อีกรอบ ติดเสร็จแล้วเพิ่งนึกได้ว่า ยังไม่ได้ถ่ายรูปโปสการ์ดบนกำแพงเลยนี่หว่า เลยต้องเดินย้อนกลับไปหา ระหว่างนั้นนักวาดที่ค่อย ๆ ทยอยกันเข้างานมาก็ติดรูปกันเต็มกำแพงเลย (ว ไวมาก)
เราถ่ายรูปโปสการ์ดมาได้ไม่ครบ แต่รับประกันว่าติดหมดทุกใบแล้วนะ แหะ...
พอย้อนกลับไปเดินดูกำแพงแบบมีสมาธิ
เราก็ต้องขอชื่นชมไอเดียบรรเจิดของเหล่านักวาดในการเรียกแขกจริง ๆ ค่ะ
ไม่เพียงแต่จะปริ๊นต์โปสเตอร์ขนาด a3 มาติดแล้ว นักวาดบางรายเล่นทำป็อปอัป จัดพร็อพ จัดนามบัตรมาแปะมุมกำแพงให้เด่นเด้งทิ่มตาคนดูเลยทีเดียว บางคนเป็นนักวาดชื่อดังซะด้วย อย่างเช่น Canizalez เจ้าของผลงานหนังสือภาพ เรื่อง Guapa ที่เราเคยรีวิวไป แปะโปสเตอร์อันเป้งเล้ย เรียกได้ว่า สมศักดิ์ศรี สีสันงาน BCBF ที่ทุกคนต้องไม่พลาด
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า โปสการ์ดขนาด 4x6 นั้นใหญ่ไม่พอ...
ใครจะไปงานปีหน้า ปริ๊นต์โปสเตอร์ใหญ่ ๆ ไปเลยนะคะ
ใช้ป็อบอัป เชือก สปริง สลิงอะไรก็ได้ ให้มันเด่นเด้งออกมาค่ะ
ดูภาพเพิ่มเติมได้ที่ โพสต์นี้ นะคะ มันเยอะมากลงในนี้ไม่ไหว
อย่างที่บอกไปในงาน BCBF ไม่ได้มีแค่การซื้อขายหนังสือ + ลิขสิทธิ์หนังสือเท่านั้น
แต่ยังเต็มไปด้วยเวิร์กชอป เสวนา นิทรรศการหนังสือและภาพประกอบจากทั่วโลก ใครไม่เคยเห็นหนังสือเด็กจากประเทศไหนก็ขอให้มาเจอ มาอ่าน มาฟังได้ที่นี่ มีครบจบในที่เดียว
ตัวแทนสนพ. กำลังเจรจาซื้อขายลิขสิทธิ์กันอยู่
เราก็ได้ไปนั่งคุยกับหลาย ๆ สนพ. มาเหมือนกันนะ 😊
บทความที่แล้วเราไปดูตัวอย่างกิจกรรมบนเวทีโซนนักแปลมาแล้ว
คราวนี้มาดูโซนนักวาดกันบ้าง...
โซนนักวาดเนี่ย เป็นโซนที่คึกคักที่สุดแล้ว มีการแจกรางวัลกันตลอดเวลา แล้วก็เป็นจุดประกาศเรื่องสำคัญ ๆ ด้วยเพราะเป็นฮอลทางเข้างาน
เช่น วันแรกของงานจะมีการสรุปการดำเนินงานของสมาคม IBBY (International Board of Books for Young People) ทั่วโลก ปีนี้ IBBY มีโปรเจ็กต์สำคัญ คือการระดมไอเดียช่วยเหลือเด็ก ๆ ไปจนถึงคนทำหนังสือ/นักวาดหนังสือเด็กในยูเครน และรัสเซีย โดยทางตัวแทน Ibby ได้ชี้ให้เห็นปัญหาของการแบนสนพ. จากรัสเซีย ว่าทุกวันนี้มีคนทำหนังสือในรัสเซียหลายคนที่ต่อต้านรัฐบาลปูตินแล้วถูกหมายหัว แถมเทศกาลหนังสือหลายแห่ง รวมทั้ง BCBF ยังแบนไม่ให้สนพ. จากรัสเซียเข้างานอีก การทำเช่นนี้มันช่วยแก้ปัญหามากน้อยแค่ไหนกัน
ในวันต่อ ๆ มา เราก็ได้เห็นสนพ.หนังสือเด็กแห่งหนึ่งในรัสเซียเอาใบแถลงการณ์มาวางไว้ที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ใกล้ ๆ เวที ในใบแถลงการณ์มีการกล่าวประณามรัฐบาลรัสเซีย และประกาศจุดยืนเคียงข้างสันติภาพและยูเครน เท่านั้นไม่พอ ยังฟ้องเพื่อนร่วมวงการ ว่าสนพ.ในรัสเซียโดนรัฐกดขี่ยังไงบ้าง แถมด้วยการขายพ่วงหนังสือเกี่ยวกับสันติภาพและการต่อต้านสงครามที่ตัวเองพิมพ์ค่ะ เป็น reaction ที่ทำให้รู้สึกถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของวงการหนังสือโลกดีค่ะ
แถลงการณ์ของสนพ. หนังสือเด็กในรัสเซีย ประกาศเป็นแนวร่วมยูเครน
งานประกาศรางวัลหนังสือภาพไร้คำ (silent / wordless picture books) ที่เวทีโซนนักวาด
ประกาศรางวัลตรงนี้ แต่นิทรรศการหนังสือไร้คำอยู่อีกฮอลนึงนะคะ
งานนี้เค้าจะจัดนิทรรศการงานศฺลปะเยอะไปหมดเลย กระจายทั่วงาน เดินได้ไม่เบื่อเลยละ
นิทรรศการหนังสือภาพไร้คำประจำปีนี้ ผู้ชนะคือหนังสือเล่มที่ชื่อว่า Missing Leg
เกี่ยวกับเก้าอี้ขาหักที่ใครผ่านไปมาก็ช่วยเอาสิ่งของต่าง ๆ มาค้ำยันให้ค่ะ
เอ... มันแปลว่าอะไรนะนี่?
แต่เรื่องที่เราชอบสุดเห็นจะเป็นอันนี้ เกี่ยวกับเด็กในสงครามกับกระเป็นใบหนึ่งที่เก็บความทรงจำอันสวยงามของครอบครัวเอาไว้...
ดูภาพไปรู้สึกจุกในอกไป
นอกจากกิจกรรมบนเวทีแล้ว BCBF ก็ยังมีนิทรรศการอื่น ๆ มากมาย เช่น
- ซุ้มหนังสือเด็กจากยูเครน
สนพ. ในยูเครนได้รับความช่วยเหลือให้ได้แสดงผลงานในซุ้มพิเศษทำเลทอง ที่คนผ่านไปมาเยอะสุด หนังสือที่เป็นที่รู้จักกันดีในวงการคือเรื่อง How War Changed Rondo เป็นเรื่องที่สะท้อนความนึกคิดของประเทศที่ผ่านสงครามมานับไม่ถ้วนและโหยหาสันติภาพ อย่างยูเครนค่ะ
ภาพนี้ถ่ายตอนเช้าวันแรก คนยังไม่เยอะ
- นิทรรศการหนังสือสีพิเศษ (ที่ไม่ใช่ CMYK เช่น สีเรืองแสง)
หนังสือสีพิเศษสวย ๆ ทั้งนั้นเลย... (人´∀`*)
- นิทรรศการหนังสือภาพที่ชนะการประกวด Bologna Ragazzi Award 2022 และหนังสือภาพอื่น ๆ ที่โดดเด้งในหมู่ผู้ส่งผลงาน 2000 กว่าเล่ม จาก 62 ประเทศ (ไทยไม่ส่งเข้าประกวด)
ร้อยหนังสือเป็นพวง ๆ แบบนี้เลย
- นิทรรศการภาพประกอบหนังสือเด็กจาก Sharjah International Book Fair แห่ง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (เป็น guest ของงานปีนี้)
พื้นที่ตรงนี้จัดแสดงภาพประกอบของนักวาดจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์โดยเฉพาะ
- นิทรรศการภาพประกอบที่ส่งเข้าประกวดรางวัล International Award for Illustration ปี 2019 กับ 2021 (ปี 2020 งานยกเลิกไปเพราะโควิด) และนิทรรศการผลงานภาพประกอบของนักวาดผู้ชนะรางวัลของทั้งสองปี
(ภาพแรก) นิทรรศการภาพประกอบหนังสือเด็กในแต่ละปี มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมเป็นร้อย แ
ละบางคนก็ได้เดบิวต์ผลงานระดับโลกจากการมาแสดงงานที่นี่ค่ะ
(ภาพอื่น ๆ) สองศิลปินจากคนละซีกโลกซึ่งเป็นผู้ชนะรางวัลปี 2019 และ 2021
ได้รับเกียรติแสดงผลงานในพื้นที่ใหญ่ ๆ แยกออกจากนักวาดท่านอื่น ๆ ค่ะ
- และแน่นอน กำแพงนักวาดแบบออฟไลน์และออนไลน์นั่นเองค่ะ
เราได้เจอภาพประกอบคนไทยที่ส่งเข้าร่วมจัดแสดงบนกำแพงนักวาดออนไลน์ (Virtual Illustrator Wall) ด้วยนะ เราเห็นมีอยู่สามจอ เราไปนั่งกินขนมหน้าจอมา แต่ถ่ายรูปทันแค่ผลงานเดียวค่ะ
หนึ่งในกำแพงนักวาดเวอร์ชันออนไลน์ที่ปิดรับผลงานไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์
มีผลงาน 900 กว่าชิ้น นั่งกินขนมไปดูไปได้ยาว ๆ
ผลงานเหล่านี้จะยังถูกนำไปโชว์ต่อในนิทรรศการต่าง ๆ ในปีนี้
และจะยังอยู่บนดาต้าเบส และแอป BCBF ด้วยนะ
สำหรับบรรยากาศงานวันสุดท้าย ทุกคนค่อนข้างจะชิลแล็กซ์ค่ะ
เอเย่นต์ไม่ค่อยทำงานแล้ว ทยอยกลับบ้าน ผู้เข้าชมงานยังเดินซื้อหนังสือบางบูธอยู่ (หนังสืออิตาเลียน) เห็นเค้าว่าบัตรเข้างานวันสุดท้ายขายครึ่งราคา ก็ไม่น่าแปลกใจอะไร ถ้าเป็นคนอ่าน อยากมาโกยหนังสือกลับ หรืออยากมาดูนิทรรศการภาพประกอบ/หนังสือนานาชาติเฉย ๆ ก็นับว่าพอถูไถอยู่ค่ะ
มันหว่าเว้เหลือเกิน นี่เพิ่งจะสิบโมงนะเฮ้ย!
โหวงเหวง...
ใครเดินงานมาจนครบแล้วก็หยุดพักซื้อของฝากที่บูธรวมหนังสือรางวัลกันได้
มุมนี้ เจ้าภาพเขาได้จัดเตรียมหนังสือที่ได้รับรางวัลประเภทต่าง ๆ จาก BCBF มาขายด้วย เช่น หนังสือปกสวย หนังสือกลอน หนังสือคอมิก หนังสือชนะรางวัลภาพประกอบดีเด่น เป็นต้น
โต๊ะวางหนังสือรางวัล
และก่อนกลับอย่าลืมแวะบูธแสดงผลงานนักศึกษาสาขาภาพประกอบหนังสือ มหาลัยต่าง ๆ ที่มาร่วมงาน
เช่น Cambridge กับ ACCADEMIA DI BELLE ARTI DI BOLOGNA ที่ยังคงครึกครื้นไปจนงานปิดค่ะ เป็นบูธประเภทที่คนเดินเข้าเดินออกตลอด แม้บูธรอบข้างจะวังเวงแล้ว...
ผลงานนักศึกษาเค้านี่ว้าวกรี๊ดมาก บางเล่มตีพิมพ์ได้เลยนะ งานป๊อบอัปก็ละลานตาเหลือเกิน (ดูได้
ในภาพ) มีแมวมอง มีศิลปินรุ่นน้อง ๆ มาส่องผลงานกันใหญ่เลย
ตัวอย่างผลงานนักศึกษาศิลปะ มหา'ลัย ACCADEMIA DI BELLE ARTI DI BOLOGNA
ใครรู้บ้างไหมเอ่ยว่า ป็อปอัปในรูปมาจากหนังสือเด็กเรื่องอะไรนะ
ดูคำตอบและภาพเพิ่งเติมได้ ที่นี่
ธรรมเนียมน่ารัก ๆ ของ BCBF
ที่กำแพงนักวาด ขาออกจากงาน ผู้คนจะทยอยดึงโปสการ์ดและโปสเตอร์ที่เหล่านักวาดเอามาแปะไว้ออก เพื่อเก็บกลับบ้านเป็นที่ระลึกกันค่ะ ถ้ามางานวันสุดท้าย อย่าลืมเด็ดโปสการ์ดไปเป็นของที่ระลึกกันนะคะ
แอบเห็นว่าโปสการ์ดของนักวาดไทยที่เราเอาไปแปะไว้หายไปบางอัน (คือเราก็ไม่รู้มันหลุดหรือมีคนเก็บกลับบ้านไปแล้ว แต่หวังว่าเป็นอย่างหลังนะ 55)
พอมาเดินดูใหม่อีกรอบก็เห็นนักวาดบางคนประกาศหานักเขียน สนพ. ประกาศตั้งโต๊ะดู portfolio นักวาดกันในงานเลยก็มี
ตัวอย่างโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์หานักวาดของสนพ. Sweet Cherry
งานเทศกาลหนังสือนานาชาติครั้งนี้เราได้รู้จักสนพ. ต่างประเทศที่ทำหนังสือภาพสวย ๆ เยอะเลย
เปิดหูเปิดตา ได้คุยกับฝ่ายลิขสิทธิ์ประเทศต่าง ๆ เยอะแยะ วันสุดท้ายได้คุยกับนายหน้าขายหนังสือชื่อดัง ที่ดูแลลิขสิทธิ์ผลงานต่างประเทศในไทยด้วย
นอกจากนี้เราก็ได้คุยกับจนท. องค์กรส่งเสริมอุตสาหกรรมการแปลหนังสือในหลายประเทศเลยค่ะ ทั้งลิธัวเนีย เอสโตเนีย เยอรมนี เป็นต้น
เป็นความทรงจำที่ดีมาก ๆ เลยละค่ะ
ในบทความหน้า ตาลจะมาเล่าถึงการเตรียมตัวไปงานเทศกาลหนังสือแห่งสำคัญอีกงานค่ะ London Book Fair... ฉัน (ไป) มาแล้ว!
ติดตามชมกันนะคะ
เนื้อหาในบทความนี้เคยตีพิมพ์แล้วในเพจ Children's Books Out There
Comments