บันทึกวันที่ 22 ตุลาคม 2021: เดินทางไกลจากเดนมาร์กสู่เยอรมนี
วันป่วง ๆ ที่เต็มไปด้วยการเดินทางด้วยรถไฟ
และหนังสือในร้านหนังสือเก่าแก่ของเมืองแฟรงก์เฟิร์ต
ยิ้มทั้งที่ตายังบวม ๆ เพราะนอนไม่พอ ตื่นเต้น ๆ
อ่านบทความตีพิมพ์ครั้งแรกได้ ที่นี่
เช้านี้มันบ้ามาก
เราตื่นมาตั้งแต่ตีสี่ เตรียมตัวออกจากบ้านตีห้า ปั่นจักรยานลงเนิน ยาวไปถึงสถานีรถไฟออฮุส พร้อมเดินทางยาวเก้าชม. ไปแฟรงก์เฟิร์ต
ออกจากบ้าน
ชิบ ว่าละ ฝนมันต้องตก...
อากาศเดนมาร์กไม่เคยทำให้ผิดหวังเลยจริง ๆ ว้อย!
แต่ไม่เป็นไร ยังดีที่ตกไม่แรงมาก
เราเตรียมเสื้อกันฝนไว้แล้ว บ่ยั่นล่ะก้า วะฮ่า!!!!
ปั่นเลยละกัน
ปรากฎยังปั่นไม่ทันเกิน 3-4 แยกไฟแดง โดนอะไรไม่รู้ที่ถนนเจาะยางหน้าเข้าให้
แปร๊ชชชชชชชช!!!!
ยางแฟ่บในบัดดล
เอิ่ม...
แต่ไม่เป็นไร เราพกปั๊มจักรยานมาด้วย!
(555 ตรูว่าแล้ว มันต้องเกิดเรื่อง)
ปั๊ม ๆ ๆ
ชิบหองแล้ว ยางรั่วแบบกู่ไม่กลับแล้วว้อยยยยย!!!!
ในที่สุดเลยต้องปั่นจักรยานยางแบนกว่าครึ่งชั่วโมงลงเนินทั้งอย่างงั้นแหละ ไม่งั้นตกรถไฟ
ขี่จักรยานยางแบนแบบนี้มันอันตรายมากอ่ะ เพิ่งรู้
เราเกือบล้มตอนเลี้ยวหลายรอบมาก เพราะยางแฟบ ๆ มันไม่ช่วยบาลานซ์ให้แล้ว
ละเราคือไม่ใส่หมวกกันน็อกด้วยวันนี้ ไม่อยากพกหมวกไปเยอรมนี
พอมาถึงรถไฟ
อ่าว ตั๋วที่จองกับ Omio ไม่ระบุที่นั่งอีก ยังดีจนท. สแกนตั๋ว QR แล้วปล่อยผ่าน
แต่ก็ดีแล้วค่ะ จะได้พักสัปหงกสักที
วิวฤดูใบไม้ร่วงในเยอรมนี ผ่านกระจกรถไฟ
หลังจากที่เดินทางมาเป็นเวลากว่าเก้าชม. รถไฟสามต่อ นั่งหลับบ้าง ตื่นบ้าง เขียนบทความบ้าง พยายามโทรหาเพื่อนบ้าง (รถไฟเยอรมันบางขบวนไม่มีไวไฟอ่ะ ไม่เหมือนเดนมาร์กเลย) อ่านธีสิสเพื่อนบ้าง สมัครวีซ่าบัณฑิตจบใหม่บ้าง อ่านเมลบ้าง ฯลฯ
(ช่วงขิง: อ้อ เราได้ใบรับรองทางเมล ว่าเรียนจบแล้วนะ ได้เกียรตินิยมมาแบบงง ๆ เทอมหนึ่งคะแนนเน่ามาก เขียนเอสเสเห่ยแตก ไม่นึกเลย ท่าทางจะได้คะแนนธีสิสช่วยไว้เยอะ)
สรุป: ในที่สุดเราก็มาถึงแฟรงก์เฟิร์ตแล้วค่า เย่ ๆ
ถึงสถานีแฟรงก์เฟิร์ตจนได้นะคะ 555 เหนื่อยแท้
อ่านบทความตีพิมพ์ครั้งแรกที่นี่
วันนี้เรามาถึงแล้วชิลก่อน พรุ่งนี้ค่อยเดินงาน (เหนื่อยจะตายอยู่แล้ว นอนไม่พอ 555) ระหว่างรอเจอพี่ Evelyn Irina Sternberg ที่สถานี ก็เข้าไปดูร้านหนังสือ Schmitt & Hahn Buch und Presse ในสถานีไปพลาง ๆ เขาว่าเขาเปิดกิจการมาตั้งแต่ปี 1841 แน่ะ อะไรมันจะคลาสสิกขนาดนั้น
ร้านหนังสือ Schmitt & Hahn Buch und Presse ที่สถานีแฟรงก์เฟิร์ต
ร้าน Schmitt & Hahn ก็เหมือนร้านหนังสือหลาย ๆ แห่งที่ขายทั้งหนังสือและของกระจุกกระจิกรวม ๆ กัน (แต่หนังสือเยอะกว่ามาก) เราที่อ่านภาษาเยอรมันไม่ออกก็ทำได้แค่สำรวจปก สำรวจราคา แล้วก็วัสดุทำหนังสือเท่านั้น
ที่สะดุดตาคือ เค้ามีนิตยสารเยอะมาก ๆ ๆ ๆ
นิตยสารเยอะมาก! มีทุกหัวข้อ วางทั่วร้าน
มีหลายปกหลายหัวข้อละเกิน เรียงกันเป็นพรืด แล้ววิธีจัดวางหนังสือก็สวยงามดี ไม่ค่อยเอาสันเข้าเท่าไหร่ ยกเว้นหนังสือมังงะโชว์สันที่ต่อกันเป็นภาพ ปกหนังสือก็สวยโฮก โดยเฉพาะหนังสือแนวอาร์ต (เราชอบเล่มเกี่ยวกับ บันทึกชาวเอลฟ์มากเลยค่ะ ทั้งภาพวาด ไดคัตงดงามละเกิน ปาดเข้าไปเกือบสามสิบยูโร)
ตัวอย่างหนังสือปกสวย ๆ ในร้าน ถ้าสวยขนาดนี้ก็โชว์ปกเรียงมันเลยสิคะ!
อีกอย่างคือ ร้านนี้นางโชว์นิตยสารเพลย์บอย เพนต์เฮาส์ปกเปลือยระดับต่ำมาก ระดับสายตาเด็กเลย
ซึ่ง เออ นี่ก็สงสัยอยู่ ว่าพ่อแม่ที่นี่โวยวายมั่งมั้ย
แต่มันก็อาจเป็นเรื่องธรรมดา ไม่เซนซิทีฟสำหรับเค้าแล้วมั้ง เพราะตามสวนสาธารณะ พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ก็มีภาพ/รูปปั้นเปลือยเป็นปกติอยู่แล้ว
นิตยสารนู้ดอย่าง Playboy ก็วางซะอะร้าอร่ามเชียว
สำหรับหนังสือที่น่าสนใจคือ นิยายขายดีอันดับสี่และห้าของหมวดสืบสวน เรื่องเกี่ยวกับคริสมาสต์ (ที่มีซานตาคลอสทำหน้างงอยู่ในดงไข่อีสเตอร์) กับหนังสือล้อเลียนท่านนายกรัฐมนตรีเยอรมัน แองเจล่า มาเคิล ซึ่ง เอาจริง ๆ เราก็ไม่รู้หรอกว่ามันเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร แต่ปกมันน่าสนใจจริงนะ ขนาดอ่านไม่ออกก็ยังรู้สึกว่า เชื่ออ่ะ ว่ามันจะสนุก คนทำปกนี่เค้าแน่จริง ๆ คนทำปกสำคัญมากเด้อ!
(ภาพแรก) ซานต้า: เอะ... อิหยังหนิ
(ภาพสอง) แฟนฟิกยอดฮิตของชาวเยอรมันในวันนี้
นำแสดงโดย นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเอง
เนื่องจากวันนี้เราทั้งคู่ตกลงไม่ไปงาน เพราะมันไม่คุ้มค่าตั๋ว 10 ยูโร ที่จะเข้าแค่ตั้งแต่บ่ายสองถึงหกโมง เราเลยได้ไปเดินเล่นรอบ ๆ ใจกลางเมืองแฟรงก์เฟิร์ตแทน ขอรีวิวสั้น ๆ ว่า: หนาวมาก เฝออร่อยมาก หนาวมาก เค้กเทรามิซุกับแอปเปิลสตรูเดิลอร่อยมาก หนาวมาก โยเกิร์ต Ayran อร่อยมาก หนาวมาก เฮ้อ ถึงที่พักซะที เรื่องน่าตื่นตาอีกอย่างคือ โฮสเทลอิชั้นอยู่กลางย่านโคมแดงพอดี
เพื่อนบ้านย่านโคมแดง อืม... น่าสนใจ...
แอเรียนี้มันไม่ได้ดูสวยงาม กระจุกกระจิก มีประวัติศาสตร์เหมือนย่านโคมแดงที่อัมสเตอร์ดัมเท่าไหร่ แต่ความกล้านำเสนอนี่ทัดเทียมกันอยู่
ยังไงก็ขอให้คืนนี้ผ่านไปด้วยดี พรุ่งนี้มีเดินอีกยาวค่ะ
*บทความนี้ตีพิมพ์ครั้งแรก ที่นี่
Comments