ภาพสะท้อนพืชพรรณ สัตว์ป่า และวัฒนธรรมท้องถิ่น
คือสิ่งที่หนังสือแปลจากแดนไกลมอบให้ไม่ได้
ถึงเวลาหรือยังที่เราจะเขียนเรื่องของพืชสัตว์และธรรมชาติพื้นถิ่นของอาเซียนเอง?
ก่อนจบวัน ขอรีวิวหนังสือภาพอินโดนีเซียอีกหนึ่งเล่ม
แบบสั้น ๆ เบา ๆ ไม่วิชาการแล้วกันค่ะ หนังสือเล่มนี้ชื่อ Krak! Krak! Krak! (2017)
ถ้าเราจะแปลไทย... เราจะให้ชื่อเรื่องนี้ว่า "กรุ๊ก กริ๊ก แกร๊ก" มันน่าจะน่ารักดีเนอะ 55
เขียนโดยคุณ Benny Rhamdani
และวาดโดยคุณ Wastana Haikal
ตีพิมพ์กับสนพ. Pelangi Mizan (เดี๋ยวรีวิวหน้าจะเอาหนังสือสนพ. อื่นมาแนะนำแล้วค่ะ 555)
หนังสือเล่มไม่หนา หน้าไม่เยอะ สีสันสวยงามเล่มนี้ เนื้อหาไม่ซับซ้อน เหมาะกับเด็กเล็ก และมาในธีมมังกรโคโมโด สัตว์ประจำชาติอินโดนีเซียค่ะ
เรื่องมีอยู่ว่า เจ้ามังกรโคโมโดตัวน้อย อยู่ในไข่มานาน ถึงวันฤกษ์งามยามดีก็เตรียมจะกะเทาะเปลือกออกมา แต่กะเทาะไปได้นิดหน่อย ตาคู่เล็ก ๆ ก็มองออกไปเห็นสัตว์ประหลาดทยอยกันผุดออกมาจากผนังรอบ ๆ ตัว (กรี๊ดดดดดด)
เจ้ามังกรโคโมโดเพิ่งตื่น จากการหลับใหล ยาวนานถึงแปดเดือน
แล้วมันก็ได้ยินเสียงอะไรบางอย่าง "กรุ๊ก กริ๊ก แกร๊ก"
เจ้ามังกรโคโมโดน้อย รู้สึกสงสัย
ตายละวา! ตัวอะไรยั้วเยี้ยไปหมดเลย!
พวกมันส่งเสียงน่ากลัว
ไม่นะ! พวกมันใกล้เข้ามาแล้ว!
พวกสัตว์ประหลาดทยอยกันเข้ามารุมไข่ของเจ้ามังกร
ก็แล้วมันจะเป็นใครไปได้อีกล่ะ...
นอกจากพี่น้องมังกรโคโมโดครอกเดียวกัน
ที่เพิ่งออกมาจากไข่เหมือนมันนั่นเอง
แต่เดี๋ยวก่อน
จริง ๆ สัตว์ประหลาดพวกนี้ก็ไม่ได้น่ากลัวสักเท่าไหร่นี่นา
เราว่าหนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องง่าย ๆ ได้สนุกมากเลย และท่าทางจะเอาไปอ่านออกเสียงได้สนุกด้วย โดยเฉพาะฉากที่เจ้ามังกรน้อย พยายามผลุบกลับเข้าไป แต่หัวดันติดเปลือกไข่ และจะกรี๊ดอยู่รอมร่อ (มังกรฯ กลัวมังกรฯ ด้วยกันเองอ่ะ ตลกมั้ย 555)
ท้ายเล่มมีการเล่าวงจรชีวิตของมังกรโคโมโดเพิ่มเติมด้วย
ว่าเป็นสัตว์ยุคโบราณ อาศัยอยู่ในเกาะโคโมโด ประเทศอินโดนีเซีย วางไข่แค่ปีละครั้งเท่านั้น แม่มังกรโคโมโดฟักไข่ 3 เดือน แต่กว่าไข่จะฟักก็ใช้เวลาถึง 7-8 เดือน พวกมันมีสีสันสดใสเวลาเป็นเด็ก และชอบกินตั๊กแตนเป็นพิเศษ
อ่านจบแล้วรีบไปหาเรื่องมังกรโคโมโดมาอ่านเพิ่มเลยอ่ะ นว้อง รู้กกก
ตอนที่เราอ่านหนังสือเล่มนี้ เราซึ่งไม่ได้เป็นคนที่กลัวสัตว์เลื้อยคลาน ก็รู้สึกชอบนะ เพราะลูกมังกรโคโมโดในเรื่องตาแป๋ว น่ารักมาก 555 แต่บ้านไหนพ่อแม่หวีดจิ้งจกตุ๊กแกนี่ เราก็ไม่กล้าแนะนำเหมือนกัน แหะ
อีกเรื่องที่เราว่าน่าสนใจ สำหรับ Krak! Krak! Krak!
ก็คือการเอาสัตว์ประจำชาติมาเป็นธีมเล่าเรื่องชีวิตสัตว์หายากในประเทศเนี่ยแหละ เมื่อเร็ว ๆ นี้เราเพิ่งแชร์ โพสต์ ที่เสนอว่าเราควรมีหนังสือเกี่ยวกับสัตว์และธรรมชาติเมืองไทยมากกว่านี้ เลยขอมาย้ำอีกครั้งว่า การที่เด็ก ๆ ได้อ่าน ได้รู้เรื่องธรรมชาติในประเทศตัวเองนี่สำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมในระยะยาวมากนะคะ เพราะเราคงรักษาอะไรไม่ได้ หากเราไม่รู้จัก ไม่เข้าใจ และไม่ได้รัก หรือผูกพันกับสิ่งนั้นหรอก จริงไหม? ลองคิดเล่น ๆ ถ้าเราเอาสัตว์ประจำชาติประเทศต่าง ๆ มาตั้งเป็นหัวข้อ เล่าเรื่องชีวิตสัตว์โลกก็น่าจะสนุกดีนะคะ โดยเฉพาะสัตว์ประจำชาติในประเทศอาเซียนนี่ น่าจะออกแนวดราม่าหน่อย ๆ เพราะแต่ละตัวใกล้จะสูญพันธ์ุ ไม่ก็ความเป็นอยู่ยากลำบากเพราะสภาพอากาศ/ธรรมชาติเปลี่ยนแปลงทั้งนั้นเลย ไม่ว่าจะ ช้างไทย กูปรีกัมพูชา เสือมาลายัน หรืออินทรีฟิลิปปินส์ แล้วเพื่อน ๆ ล่ะคะ ถ้าจะเล่าเรื่องสัตว์ในประเทศไทยจะเล่าเรื่องอะไร ตาลชอบสมเสร็จนะ มันน่ารัก ตาแป๋วแหววดีค่ะ เยิ้ฟ
ส่งสมเสร็จน้อยมาทักทายฮัฟ
แล้วเจอกันใหม่บทความหน้าค่ะ 😊
อ่านเรื่องมังกรโคโมโดเพิ่มเติมได้ที่ - https://komododragon.org/post/detail/2 (บทความนี้พูดถึงวงจรชีวิตมังกรโคโมโด) - https://southeastasiaglobe.com/indonesia-komodo-dragon/ (บทความนี้ พูดถึงความเชื่อที่ว่าน้ำลายมันเป็นพิษฆ่าสัตว์ใหญ่ได้นั้นไม่จริง แต่น่าจะเพราะน้ำที่มันแหวกว่ายอยู่มีแบคทีเรีย และแบคทีเรียนั้นเข้าไปยังบาดแผลของสัตว์ที่มันกัด ทำให้เกิดการติดเชื้อมากกว่า) *บทความนี้ตีพิมพ์ครั้งแรก ที่นี่
อ้างอิง https://sea.mashable.com/.../what-are-the-national... #หนังสือเด็ก #หนังสือเด็กเกี่ยวกับธรรมชาติ #หนังสือเด็กเกี่ยวกับสัตว์โลก #หนังสือเด็กอินโดนีเซีย #childrensbooksoutthere
Comments