top of page
รูปภาพนักเขียนTarn

The Story behind the Thai Translation of -Ish



[Thai language below]


A new picture book I translated has just been published and reviewed by one of the most famous/influential book reviewers in Thailand 😊 (Not me though lol)


As simple as it is, this book is very challenging to translate from English to Thai because of the word: "-ish".


That's right, the title itself and all the "-ish" words throughout the story until the very end. How fun!


It is quite convenient to use "-ish" in the original language as it can be attached to both nouns and adjectives. On the contrary, Thai language does not have that kind of suffix (except for words that derive from Pali-Sansakrit, which are understandably for more mature readers).





Instead, we can use many words to convey the "-ish" expression. Each comes with different tones: supportive, judgy, teasing, or somewhat neutral. So some words may sound right in one situation but not in the other. And some just don't work because we cannot make them look good on the cover due to their length!


We had to try 3-4 translation options to find the fittest one, and the end result is really satisfying 😌



Credit (pictures): Amarin Publishing



 

หนังสือออกใหม่ค่า บ.ก.มาขายตรงแล้ว นักแปลขอขายตรงมั่ง 555 หนังสือเล่มนี้นำเสนอปัญหาความเป็น Perfectionist ซึ่งกลายมาเป็นปมของคนรุ่นใหม่รวมถึงเด็ก ๆ หลายคน การไม่ยืดหยุ่น ทนไม่ได้ถ้าทำอะไรออกมาไม่เป๊ะ ไม่เป็นไปตามแผน หรือไม่ได้ผลลัพธ์ตามคาด บวกกับการแคร์ความคิดเห็นของคนรอบข้างมาก ๆ ทำให้ไม่พอใจกับชีวิต และบางครั้งก็ซึมเศร้าด้วย ในต่างประเทศ ประเด็นนี้เริ่มเป็นที่สนใจ และถูกพูดถึงในหนังสือเด็กหลายเล่ม คงเพราะสภาพสังคมที่แข่งขันกันสูง และสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ที่ทำให้เด็กเข้าถึงความคิดเห็น คำวิจารณ์เชิงลบ เชิงเปรียบเทียบได้เยอะขึ้นด้วย


น้องในเรื่อง เป็นเด็กที่ชอบวาดรูปมาก แต่เพราะโดนพี่หัวเราะใส่ ก็เลยกดดันตัวเอง อยากจะวาดภาพที่สมบูรณ์แบบ ไป ๆ มา ๆ ก็ไม่สนุกกับการวาดรูปแล้ว จนกระทั่งได้ปรับมุมมองที่มีต่อการวาดรูป ว่ามันไม่ต้องเป็น "ภาพเหมือน" ก็ได้นี่นา -ish เป็นชื่อหนังสือที่เท่มาก เพราะเป็น suffix (คำเติมท้าย) สำหรับเติมหลังนามหรือคุณศัพท์ เปลี่ยนให้เป็นคำคุณศัพท์ แปลว่า มีลักษณะดู "คล้ายๆ กับ..." หรือ "ค่อนข้างจะ..." หรือ "ออกจะ..." หรือ "ประมาณ..." เช่น brownish (ออกสีน้ำตาลๆ) three-ish (ประมาณสาม...) childish (ทำตัวแบบเด็กๆ ในแง่ไม่ค่อยดี เอาแต่ใจไม่ฟังเหตุผล) สื่อว่า แทนที่จะวาดภาพ "เหมือน" เราวาดภาพ "คล้าย" ก็ได้นะ แต่เพราะคำว่า -ish มันเป็นคำอเนกประสงค์ พอแปลเป็นไทย พวกเราอยากแปลให้มันตรงกับคำ ๆ เดียว แล้วใช้ตลอดเล่ม เพื่อคงลูกเล่นเอาไว้จนถึงหน้าสุดท้าย ("happy-ish") ก็เลยแปลให้ลงตัวค่อนข้างจะยากนิดหน่อย ทีแรกว่าจะแปลเป็น "ภาพค่อนข้างเหมือน" ให้มันฟังดูกวน ๆ ล้อไปกับภาพเหมือน แต่คำมันก็จะยาวไป จัดหน้าไม่ลง จำได้ว่า เราทดลองใช้คำว่า "ภาพออกจะเหมือน" ด้วยเ เพราะมันกวนโอ๊ยดี คำว่า "ออกจะ-" ในภาษาไทยมันเป็นได้ทั้งชมว่า "เฮ้ย ก็ออกจะเหมือนนะ" และทั้งบอกว่า "มันแค่ออกจะเหมือน แต่ไม่เหมือนซะทีเดียว" พอจบเรื่องด้วยคำว่า "แล้วเขาก็ใช้ชีวิตแบบออกจะมีความสุขตลอดไป" ก็จะได้เป็นคำกลาง ๆ ไม่ดี ไม่แย่ แล้วแต่จะตีความ แต่อ่านรวม ๆ แล้วดูซับซ้อนไปหน่อย เลยเปลี่ยนกัน กว่าจะตัดสินใจได้ก็ผ่านการคิดหลายตลบ ยากมากมาย แต่ก็ทำให้รู้จักภาษาไทยดียิ่งขึ้น สำหรับเนื้อหาแล้ว เราชอบหนังสือเล่มนี้มากเลย เพราะตัวเองก็เป็นคนที่เป็นทุกข์ง่าย เวลาอะไร ๆ ไม่เป็นไปตามแผน ทำไม่ได้ตามที่คาดไว้ บางทีไม่มีใครมาคาดหวังอะไรกับเราด้วยซ้ำ เราก็กดดันตัวเอง ว่ากล่าวตัวเองเสร็จสรรพ มันไม่สนุกเลย เราหวังว่าตอนเด็ก ๆ จะมีคนเตือนเราหน่อยว่าให้ปล่อยวางบ้างและใจดีกับตัวเองบ้าง 555 หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะบอกเรื่องนี้กับเด็ก ๆ ในวันนี้ทัน ขอให้สนุกกับการอ่านนะคะ


Amarin's original post (1 March): here


ดู 2 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page